Recent Posts

Pages: 1 ... 8 9 [10]
91
แจงสิทธิข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้

นางผานิตย์ มีสุนทร ผอ.สำนักการคลังและทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้มีหนังสือที่ กค. 0422.3/ว 161 เรื่องประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการและค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชน ลงวันที่ 13 พ.ค. 2552 ไปยังส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อแจ้งเกี่ยวกับสิทธิในการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรข้าราชการ ปีการศึกษา 2552 ตามประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนที่กำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ดังนี้ สถานศึกษาของทางราชการ ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า เบิกได้ปีละไม่เกิน 4,650 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,200 บาท ระดับม.ต้น, ม.ปลาย, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ เทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,900 บาท และระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 11,000 บาท

ทั้งนี้เงินบำรุงการศึกษาระดับอนุบาลถึง ม.ปลายที่ให้เบิกจ่ายได้ตามอัตราดังกล่าว จะประกอบด้วย 1.ค่าสอนคอม พิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดสอนให้นักเรียนเกินกว่ามาตรฐานที่รัฐจัดให้ 2.ห้องเรียนพิเศษ EP (English Program) 3.ห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program) 4.ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ ด้านวิชาการและด้านอื่น ๆ 5.ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ และ 6.ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ ส่วนระดับอนุปริญญา เงินบำรุงการศึกษาที่ให้เบิกจ่ายได้ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรงที่สถานศึกษาได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าสังกัดให้เรียกเก็บ โดยไม่รวมค่าปรับพื้นฐาน ค่าปฐมนิเทศ เงินบริจาค และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน จำแนกเป็น สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า เบิกได้ปีละไม่เกิน 10,856 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 10,556 บาท ระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 12,647 บาท ระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 12,947 บาท สถานศึกษาเอกชนประเภทสามัญศึกษาที่รับเงินอุดหนุน ระดับอนุบาลหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,874 บาท ระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 3,404 บาท ระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 2,635 บาท ระดับ ม.ปลายหรือเทียบเท่า ปีละไม่เกิน 2,605 บาท

สถานศึกษาเอกชนประเภทอาชีวศึกษา หลักสูตร ปวช. หรือ เทียบเท่า ในสถานศึกษาที่ไม่รับเงินอุดหนุน สาขาคหกรรม หรือคหกรรมศาสตร์ เบิกได้ปีละไม่เกิน 13,217 บาท พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ปีละไม่เกิน 15,877 บาท ศิลปหัตถกรรม หรือศิลปกรรม ปีละไม่เกิน 15,967 บาท เกษตรกรรมหรือเกษตรศาสตร์ ปีละไม่เกิน 16,887 บาท ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม ปีละไม่เกิน 19,487 บาท ประมง ปีละไม่เกิน 16,887 บาท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 15,877 บาท อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปีละไม่เกิน 19,487 บาท สถานศึกษาที่รับเงินอุดหนุน สาขาคหกรรมหรือคหกรรมศาสตร์ ปีละไม่เกิน 1,148 บาท พาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ ปีละไม่เกิน 4,142 บาท ศิลปหัตถกรรม หรือศิลปกรรม ปีละไม่เกิน 2,923 บาท เกษตรกรรม หรือเกษตรศาสตร์ ปีละไม่เกิน 4,051 บาท ช่างอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรม ปีละไม่เกิน 5,791 บาท ประมง ปีละไม่เกิน 4,051 บาท อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 4,142 บาท อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปีละไม่เกิน 5,791 บาท

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ เทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือ เทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินค่าธรรมเนียมการศึกษาในประเภทหรือสายวิชา ดังนี้ ช่างอุตสาหกรรม หรือ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทัศนศาสตร์ ปีละไม่เกิน 30,000 บาท พาณิชยกรรม หรือ บริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม หรือ ศิลปกรรม เกษตรกรรม หรือ เกษตรศาสตร์ คหกรรม หรือ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปีละไม่เกิน 25,000 บาท

หลักสูตรระดับปริญญาตรี ให้เบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สถานศึกษาเรียกเก็บ โดยค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานศึกษาได้รับอนุมัติให้เรียกเก็บตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศของสถานศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้ไม่รวมค่าปฐมนิเทศ ค่าลงทะเบียนล่าช้า ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าประกันของเสียหาย ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าซักรีด ค่าเทียบโอน ค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา.



ที่มา
วันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เวลา 09:07 น.
92
ระหว่างวันที่ 12-16 พ.ค. 2552 นี้ ไปราชการครับ

ภาระกิจ : ประชุมปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ฯ ด้วยโปรแกรม Pro/ENGINEER
วัน เวลา : 12 - 16 พฤษภาคม 2552
สถานที่ :  ณ โรงแรมเฟิสท์ กรุงเทพมหานคร
93
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา และกำหนดเครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒

ประกาศ ศธ. เรื่อง กำหนดศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา
ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒









ประกาศ ศธ. เรื่อง กำหนดเครือข่ายการนิเทศการมัธยมศึกษา
ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒







ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2009/mar/113.html
94
ตั้งศูนย์ประสานงานมัธยม 41 แห่งทั่วประเทศ


วันที่ 31 มี.ค.52 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้ลงนามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง กำหนดศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา เพื่อให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา 41 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน(สพฐ.) ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ซึ่ง ที่ผ่านมาผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา(สมศ.)ในรอบแรกระดับมัธยมศึกษามีคุณภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ คุณภาพการศึกษาของนักเรียนชั้นม.3 และม.6 มีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ และในรอบสองโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานที่ 5 ดังนั้นสถานศึกษาเหล่านี้จึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้เข้าสู่มาตรฐานและยกระดับสู่มาตรฐานสากลตลอดจนเพื่อให้ มีการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ

“ศูนย์ ประสานงานฯจะทำหน้าที่ประสานการดำเนินงานการจัดการมัธยมศึกษา จัดเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา รวมทั้งเชื่อมประสานความร่วมมือการจัดการศึกษากับสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะมีอัตรากำลังคนแห่งละประมาณ 30 คน โดยเกลี่ยมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้ง 41 ศูนย์ จะมีอัตรากำลังประมาณ 1,230 คน โดยจะดำเนินการในรูปของคณะกรรมการศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ซึ่งหลังจากที่ประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ก็สามารถปฏิบัติงานได้ทันที อย่างไรก็ตามหลังจากแยกตั้งเขตมัธยมศึกษาแล้ว จะต้องมีการติดตามเรื่องคุณภาพว่าดีขึ้นหรือไม่ โดยจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ชี้วัด เช่น ผลคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ของผู้เรียนในกลุ่มวิชาหลัก จะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2554 มีโรงเรียนยอดนิยมเพิ่มขึ้น และมีหลักสูตรที่เอื้อต่อการพัฒนานักเรียน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว

สำหรับศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษา จำนวน 41 ศูนย์ มีดังนี้

ศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษา ศูนย์ที่ 1. กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ เขตพญาไท กทม.

ศูนย์ที่ 2. ประกอบด้วย จ.นนทบุรี และพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นนทบุรี

ศูนย์ที่ 3. จ.ปทุมธานี และ จ.สระบุรี ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ปทุมธานี

ศูนย์ที่ 4. จ.สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท และอ่างทอง ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

ศูนย์ที่ 5. จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.สมุทรปราการ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ศูนย์ที่ 6. จ.ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี

ศูนย์ที่ 7. จ.ราชบุรี และกาญจนบุรี ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ราชบุรี

ศูนย์ที่ 8. จ.สุพรรณบุรี และนครปฐม ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี

ศูนย์ที่ 9 จ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ศูนย์ที่ 10. จ.สุราษฎร์ธานี และชุมพร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

ศูนย์ที่ 11 จ.นครศรีธรรมราช และพัทลุง ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

ศูนย์ที่ 12 จ.ตรัง และกระบี่ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ตรัง

ศูนย์ที่ 13 จ.พังงา ภูเก็ต และระนอง ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.พังงา

ศูนย์ที่ 14 จ.นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นราธิวาส

ศูนย์ที่ 15 จ.สงขลา และสตูล ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สงขลา

ศูนย์ที่ 16 จ.จันทบุรี และตราด ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.จันทบุรี

ศูนย์ที่ 17 จ.ชลบุรี และระยอง ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ชลบุรี

ศูนย์ที่ 18 จ.เลย และหนองบัวลำภู ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เลย

ศูนย์ที่ 19 จ.อุดรธานี ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.อุดรธานี

ศูนย์ที่ 20 จ.หนองคาย ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.หนองคาย

ศูนย์ที่ 21 จ.นครพนม และ.มุกดาหาร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครพนม

ศูนย์ที่ 22 จ.สกลนคร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.สกลนคร

ศูนย์ที่ 23 จ.กาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ. กาฬสินธุ์

ศูนย์ที่ 24 จ.ขอนแก่น ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

ศูนย์ที่ 25 จ.มหาสารคาม ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม

ศูนย์ที่ 26 จ.ร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

ศูนย์ที่ 27 จ.ศรีสะเกษ จ.ยโสธร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ

ศูนย์ที่ 28 จ.อุบลราชธานี จ.อำนาจเจริญ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

ศูนย์ที่ 29 จ.ชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ

ศูนย์ที่ 30 จ.นครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ศูนย์ที่ 31 จ.บุรีรัมย์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

ศูนย์ที่ 32 จ.สุรินทร์ ตั้งอยู่ที่อ.เมือง จ.สุรินทร์

ศูนย์ที่ 33 จ.เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ศูนย์ที่ 34 จ.ลำปางและลำพูน ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง .จ.ลำปาง

ศูนย์ที่ 35 จ.เชียงราย และพะเยา ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงราย

ศูนย์ที่ 36 จ.แพร่ จ.น่าน ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.แพร่

ศูนย์ที่ 37 จ.สุโขทัย และตาก ตั้งอยู่ที่อ.เมือง จ.สุโขทัย

ศูนย์ที่ 38 จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ศูนย์ที่ 39 จ.เพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

ศูนย์ที่ 40 จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร

และศูนย์ที่ 41 จ.นครสวรรค์ และอุทัยธานี ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์



ที่มา - สยามรัฐ วันที่ 31 มีนาคม 2552
95


ปัญหาแยกประถม-มัธยมได้ข้อยุติ บอร์ดสภาการศึกษาที่มีรมว.ศธ.เป็นประธาน มีมติให้ตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษา 18 เขต คุมร.ร.มัธยมทั่วประเทศ “ จุรินทร์ “ เร่งชงเรื่องให้ครม.พิจารณาโดยเร็ว สั่งสภาการศึกษายกร่างกฎหมายรองรับให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมมอบสพฐ.ทำพิมพ์เขียวมาเสนอ ด้านร.ร.มัธยมพอใจ ประกาศ จากนี้ไม่มีร.ร.มัธยมไหลโอนไปอยู่กับอปท.อีก

เมื่อ วันที่ 5 ก.พ.2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมสภาการศึกษา (สกศ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาตามเสียงเรียกร้องของ ฝ่ายร.ร.มัธยมที่ต้องการแยกตัวออกจากการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาซึ่งส่วนใหญ่มีตัวแทนของฝ่ายร.ร.ประถมศึกษา มาเป็นเสียงส่วนใหญ่ในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ประจำแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้ร.ร.มัธยมรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ สกศ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้วและคณะอนุกรรมการนำ เรื่องเสนอกลับให้บอร์ดสภาการศึกษาพิจารณาในวันนี้ (5 ก.พ.) ในที่สุด บอร์ดสกศ.มีมติให้ตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาขึ้น แยกงานจัดการศึกษาระดับมัธยมของร.ร.มัธยมในพื้นที่ (ยกเว้นร.ร.ขยายโอกาส) ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขตทั่วประเทศมาขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่มัธยมศึกษานี้ เบื้องต้น ได้ข้อตกลงว่า จะจัดตั้งทั้งหมด 18 เขต อ้างอิงตามการแบ่งกลุ่มจังหวัดในระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งแบ่งกลุ่ม จังหวัดออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมอบให้ สพฐ.ไปจัดทำรายละเอียดของการจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษามาเสนอ พร้อมพิจารณามาอีกครั้งด้วย ว่า จำนวน 18 เขตนี้ อำนวยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานหรือไม่ หากมีความจำเป็นก็ให้ สพฐ.เสนอตั้งเขตย่อยเพิ่มเติมได้

“การตั้งเขตพื้นที่มัธยมฯนี้ จำเป็นต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการและ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยได้มอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ไปยกร่างแก้แก้ไขพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้น ผมจะได้รีบลงนามเสนอร่างแก้ไขพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ เข้าสู่พิจารณาของคณะรัฐมนตรี “ รมว.ศธ. กล่าว

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เขตพื้นที่มัธยมศึกษาที่จะตั้งขึ้นนี้จะมีอำนาจบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมใน พื้นที่โดยสมบูรณ์ แต่ก็ต้องทำเกื้อกูลกับเขตพื้นที่การศึกษาเดิม เพื่อทำให้การจัดการศึกษาทั้ง 2 ระดับมีคุณภาพ เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษานั้น ต้องการลดอุปสรรค ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีคุณภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาแล้ว แต่ละเขตจะต้องมีการทำแผนด้วยว่า มีแนวทางพัฒนาการเรียนการสอน คุณภาพครู หลักสูตร ของโรงเรียนมัธยมในพื้นที่อย่างไร ทั้งนี้ สพฐ.จะทำรายละเอียดของเรื่องนี้เสนอ รมว.ศธ.พิจารณาในสัปดาห์หน้า

นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงเรียนมัธยมพอใจมากที่จะมีการตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษามาบริหารจัดการ โรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะ เพราะจะช่วยให้โรงเรียนมัธยมทำงานด้วยความสบายใจ มั่นใจขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การไหลบ่าของโรงเรียนมัธยม ถ่ายโอนไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)น้อยลงหรือไม่มีอีก ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีโรงเรียนมัธยมโอนไปอยู่กับท้องถิ่นแล้วประมาณกว่า 100 โรงเรียน




ที่มา - คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
96
ได้ฤกษ์มัธยมฯมีเขตพื้นที่เป็นของตัวเอง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) วันที่ 5 ก.พ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แยกเขตพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามที่คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณากำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาตามความเหมาะสม โดยยึดการแบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมศึกษาภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นหลัก และพิจารณา   ถึงความคล่องตัวในทางปฏิบัติงาน และสามารถจัดการมัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพด้วย
 
รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป 
 
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อแยกเขตพื้นที่ประถมฯ และมัธยมฯ แล้วจะต้องมีการแยกการบริหารงานออกมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) โดยจะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)        ที่ดูแลการบริหารงานบุคคลแยกออกมาจากสพท.ด้วย โดยโรงเรียนมัธยมฯจะมาอยู่ในเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสฯที่เปิดสอนถึงม.ต้น จะสังกัด สพท.ตามเดิม ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งจัดทำรายละเอียดและกำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จ และนำเสนอ รมว.ศธ.ในสัปดาห์หน้า
 
นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า รู้สึกพอใจผลการประชุมในระดับหนึ่ง เพราะตรงกับข้อเสนอที่ 3 ของ สบมท.ที่ให้แบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมฯเป็น 49 เขต โดยเป็นเขตที่มีจังหวัดเดียว 27 เขต เขตที่รวม 2 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 17 เขต และ เขตที่รวม 3 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 5 เขต ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดฯตามมติกกศ.ต่อไป.



ที่มา


วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
97
ชมกันต่อครับ

กลับเข้ามาในห้องอีกที

ภาพนี้ส่องไกลอีกทีไปยังริมห้อง หนุ่ม ๆ เขาสมาธิแน่วแน่ และตั้งใจ



เปลี่ยนมุมกันบ้าง...ลองส่องจากหลังห้องครับ



แล้วก็กลับไปนั่งที่โต๊ะครูเหมือนเดิม
ดูท่านั่งสอบของแต่ละคน











ระยะนี้เป็นระยะใกล้สุดของเลนซ์ครับ





จากหน้าห้องไปกลางห้อง















จากหน้าห้องไปหลังสุดของห้อง



ผมชอบภาพนี้ครับ แบบเป็นธรรมชาติดี



zoom เข้าไปอีกนิด



ออกนอกห้องอีกที



ลองส่องไกลสุดออกจากอาคาร ไปยังบริเวณถนนหน้าห้องสมุด จากจุดที่อยู่คือหน้าห้อง 324 ชั้น 2 ครับ



จากการทดสอบทำให้รู้ว่า......
การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด  อุปกรณ์ต่าง ๆ เราต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ที่จะใช้มัน
การที่เรากับสิ่งที่เราทำแล้วมีความชอบและเกิดความสุข  เวลามันช่างผ่านไปเร็วมาก

หมายเหตุ
- นายแบบนางแบบ จากนักเรียนชั้น ม. 5/3 (ยกเว้นภาพสุดท้าย น้องจากวิทยาลัยโปลีฯ ครับ)
98
ด้วยความอยากลองเลนซ์ตัวใหม่ที่อุตส่าห์กัดฟันหามาไว้ในครอบครองด้วยสนนราคาอยู่ที่เลขห้าหลัก
วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีในขณะที่คุมสอบกลางภาค เลยหยิบกล้องมาส่องเล่น

อุปกรณ์ กล้อง Olympus E-500  Lens Zuiko 70-300 ED

ภาพนี้ส่องจากหน้าห้องไปยังกลางห้อง



ส่องออกไปนอกห้องบ้าง



























จุดเสียที่พบคือ ถ้ายิ่ง zoom มากเท่าใด  ความไหวของภาพก็มากขึ้น เนื่องมาจากความไม่นิ่งของมือ  จะต้องหาขาตั้งมาใช้ในโอกาสข้างหน้าครับ
99
ขอบคุนครับ ครูครับผมอยากได้แบบ mp 3 เพื่อเอาไปใช้แสดงครับ รบกวนด้วยครับครู

ขออภัยที่ไม่ได้เข้ามาดู

ต้องการเพลงอะไรบอกได้ครับ
100
ขอบคุนครับ ครูครับผมอยากได้แบบ mp 3 เพื่อเอาไปใช้แสดงครับ รบกวนด้วยครับครู
Pages: 1 ... 8 9 [10]