Author Topic: ชงตั้งสำนักมัธยมปลายชั่วคราวใน สพฐ.  (Read 11738 times)

ครูประสิทธิ์

  • Administrator
  • Full Member
  • *****
  • Posts: 128
    • View Profile
ชงตั้งสำนักมัธยมปลายชั่วคราวใน สพฐ.

ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การมัธยม ศึกษา กล่าวว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการแยกการประถมศึกษาและการมัธยมศึกษา โดยได้ข้อสรุปว่าจะเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเร่งด่วน ดังนี้ เสนอให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ปรับหลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา โดยให้มีการแยกบัญชี 2 บัญชี คือ บัญชี การประถมฯ และบัญชีการมัธยมฯ โดยผู้ที่จะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในแต่ละบัญชีได้ ต้องมีประสบการณ์ในการสอนหรือบริหารศึกษานั้นๆ ไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แต่งตั้งโยกย้ายข้ามเขตพื้นที่การศึกษาได้ แต่ต้องมีผลงานโดดเด่น เป็นต้น มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ โรงเรียนประถมฯ และมัธยมฯอย่างเพียงพอ นอกเหนือจากเงินอุดหนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานที่รัฐจัดให้ ส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง ทั้งให้มีการตั้งสำนักงานมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ชั่วคราว และมีการแบ่งส่วนงานการมัธยมฯ ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นส่วนงานภายในที่อยู่ภายใต้เขตพื้นที่ฯไปก่อน ให้มีการจัดบุคลากรในเขต พื้นที่ฯโดยให้มีศึกษานิเทศก์และมีผู้บริหารการมัธยมฯในแต่ละเขตพื้นที่ฯอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ที่ประชุมอยากให้ ก.ค.ศ.มีระบบกำกับ ติดตาม ดูแล และสนับสนุนคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงระบบการประเมินวิทยฐานะใหม่ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ต.ค.

ศ.ดร.สมหวังกล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั้น ที่ประชุมจะวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการแยกการบริหารจัดการประถมฯและมัธยมฯตามที่คณะกรรมการสภาการศึกษามอบหมาย และวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียการตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาระดับจังหวัด ตามที่สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เสนอ ทั้งนี้ ตนจะเสนอข้อสรุปดังกล่าวต่อที่ประชุม กกศ.ในเดือน ก.ย.นี้.



ที่มา - ไทยรัฐ ปีที่ 59 ฉบับที่ 18483 วันศุกร์ ที่ 29 สิงหาคม 2551

ครูประสิทธิ์

  • Administrator
  • Full Member
  • *****
  • Posts: 128
    • View Profile
ได้ฤกษ์มัธยมฯมีเขตพื้นที่เป็นของตัวเอง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) วันที่ 5 ก.พ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้แยกเขตพื้นที่การศึกษาระหว่างประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามที่คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษาเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปพิจารณากำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาตามความเหมาะสม โดยยึดการแบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมศึกษาภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็นหลัก และพิจารณา   ถึงความคล่องตัวในทางปฏิบัติงาน และสามารถจัดการมัธยมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพด้วย
 
รมว.ศธ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการดำเนินการนั้นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายอย่างน้อย 3 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมอบหมายให้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ไปยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป 
 
ด้าน คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อแยกเขตพื้นที่ประถมฯ และมัธยมฯ แล้วจะต้องมีการแยกการบริหารงานออกมาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) โดยจะมีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)        ที่ดูแลการบริหารงานบุคคลแยกออกมาจากสพท.ด้วย โดยโรงเรียนมัธยมฯจะมาอยู่ในเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษา ส่วนโรงเรียนขยายโอกาสฯที่เปิดสอนถึงม.ต้น จะสังกัด สพท.ตามเดิม ทั้งนี้ สพฐ.จะเร่งจัดทำรายละเอียดและกำหนดเขตพื้นที่ฯการมัธยมศึกษาให้แล้วเสร็จ และนำเสนอ รมว.ศธ.ในสัปดาห์หน้า
 
นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (สบมท.) กล่าวว่า รู้สึกพอใจผลการประชุมในระดับหนึ่ง เพราะตรงกับข้อเสนอที่ 3 ของ สบมท.ที่ให้แบ่งเขตพื้นที่ฯมัธยมฯเป็น 49 เขต โดยเป็นเขตที่มีจังหวัดเดียว 27 เขต เขตที่รวม 2 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 17 เขต และ เขตที่รวม 3 จังหวัดเข้าด้วยกันมี 5 เขต ซึ่งจะมีการพิจารณาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบ 18 กลุ่มจังหวัดฯตามมติกกศ.ต่อไป.



ที่มา


วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ครูประสิทธิ์

  • Administrator
  • Full Member
  • *****
  • Posts: 128
    • View Profile


ปัญหาแยกประถม-มัธยมได้ข้อยุติ บอร์ดสภาการศึกษาที่มีรมว.ศธ.เป็นประธาน มีมติให้ตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษา 18 เขต คุมร.ร.มัธยมทั่วประเทศ “ จุรินทร์ “ เร่งชงเรื่องให้ครม.พิจารณาโดยเร็ว สั่งสภาการศึกษายกร่างกฎหมายรองรับให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ พร้อมมอบสพฐ.ทำพิมพ์เขียวมาเสนอ ด้านร.ร.มัธยมพอใจ ประกาศ จากนี้ไม่มีร.ร.มัธยมไหลโอนไปอยู่กับอปท.อีก

เมื่อ วันที่ 5 ก.พ.2552 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมสภาการศึกษา (สกศ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาตามเสียงเรียกร้องของ ฝ่ายร.ร.มัธยมที่ต้องการแยกตัวออกจากการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาซึ่งส่วนใหญ่มีตัวแทนของฝ่ายร.ร.ประถมศึกษา มาเป็นเสียงส่วนใหญ่ในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ประจำแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้ร.ร.มัธยมรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม

รมว.ศธ. กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ สกศ.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาเรื่องดังกล่าวแล้วและคณะอนุกรรมการนำ เรื่องเสนอกลับให้บอร์ดสภาการศึกษาพิจารณาในวันนี้ (5 ก.พ.) ในที่สุด บอร์ดสกศ.มีมติให้ตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาขึ้น แยกงานจัดการศึกษาระดับมัธยมของร.ร.มัธยมในพื้นที่ (ยกเว้นร.ร.ขยายโอกาส) ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของสำนักเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขตทั่วประเทศมาขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่มัธยมศึกษานี้ เบื้องต้น ได้ข้อตกลงว่า จะจัดตั้งทั้งหมด 18 เขต อ้างอิงตามการแบ่งกลุ่มจังหวัดในระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งแบ่งกลุ่ม จังหวัดออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมมอบให้ สพฐ.ไปจัดทำรายละเอียดของการจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษามาเสนอ พร้อมพิจารณามาอีกครั้งด้วย ว่า จำนวน 18 เขตนี้ อำนวยให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงานหรือไม่ หากมีความจำเป็นก็ให้ สพฐ.เสนอตั้งเขตย่อยเพิ่มเติมได้

“การตั้งเขตพื้นที่มัธยมฯนี้ จำเป็นต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการและ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยได้มอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ไปยกร่างแก้แก้ไขพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้น ผมจะได้รีบลงนามเสนอร่างแก้ไขพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ เข้าสู่พิจารณาของคณะรัฐมนตรี “ รมว.ศธ. กล่าว

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เขตพื้นที่มัธยมศึกษาที่จะตั้งขึ้นนี้จะมีอำนาจบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมใน พื้นที่โดยสมบูรณ์ แต่ก็ต้องทำเกื้อกูลกับเขตพื้นที่การศึกษาเดิม เพื่อทำให้การจัดการศึกษาทั้ง 2 ระดับมีคุณภาพ เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของการตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษานั้น ต้องการลดอุปสรรค ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีคุณภาพมากขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อจัดตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษาแล้ว แต่ละเขตจะต้องมีการทำแผนด้วยว่า มีแนวทางพัฒนาการเรียนการสอน คุณภาพครู หลักสูตร ของโรงเรียนมัธยมในพื้นที่อย่างไร ทั้งนี้ สพฐ.จะทำรายละเอียดของเรื่องนี้เสนอ รมว.ศธ.พิจารณาในสัปดาห์หน้า

นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ นายกสมาคมโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรงเรียนมัธยมพอใจมากที่จะมีการตั้งเขตพื้นที่มัธยมศึกษามาบริหารจัดการ โรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะ เพราะจะช่วยให้โรงเรียนมัธยมทำงานด้วยความสบายใจ มั่นใจขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การไหลบ่าของโรงเรียนมัธยม ถ่ายโอนไปอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)น้อยลงหรือไม่มีอีก ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีโรงเรียนมัธยมโอนไปอยู่กับท้องถิ่นแล้วประมาณกว่า 100 โรงเรียน




ที่มา - คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552