Author Topic: ขรก. เข่าอ่อน รัฐตัดสิทธิ์ยาโรคข้อเสื่อม !  (Read 11103 times)

ครูประสิทธิ์

  • Administrator
  • Full Member
  • *****
  • Posts: 128
    • View Profile
ขรก. เข่าอ่อน รัฐตัดสิทธิ์ยาโรคข้อเสื่อม !



ข่าวชิ้นเล็กๆ แต่สร้างความสะเทือนไปหลายวงการ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่รับราชการอยู่ทั่วประเทศ เมื่อรัฐประกาศถอดถอนยารักษาโรคข้อเสื่อมออกจากบัญชีรายชื่อยาที่ข้าราชการเบิกจ่ายได้
คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจัดทำมาตรการกำกับดูแลการใช้ยาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยเฉพาะการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
ที่พบว่าสถานพยาบาลหลายแห่งมีสัดส่วนใช้ยานอกบัญชีฯ ร้อยละ 60-70% โดยเฉพาะยาโรคไขข้อและกระดูกซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง (ThaiPR.net วันพฤหัสที่ 30 ธันวาคม 2552) คณะทำงานฯ ได้สรุปว่ายาในกลุ่ม SYSADOA (กลูโคซามีน คอนดรอยดินซัลเฟส และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาที่ฉีดเข้าข้อ (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) ไม่มีประสิทธิภาพชัดเจนในการรักษา การใช้ยากลุ่มนี้อาจไม่เกิดประโยชน์และไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย ซึ่งส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ดังนั้นจึงมีหนังสือสั่งให้กลุ่มยาเหล่านี้เป็นรายการที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาบรรเทาอาการปวดข้อ กลุ่ม SYSADOA ซึ่งค้านกับข้อมูลอีกด้าน ที่เป็นการศึกษาของ Prof. Reginster แสดงให้เห็นว่าการรับประทานกลูโคซามีน ซัลเฟต 1500 มก. นานต่อเนื่อง 3 ปี มีผลทำให้ข้อเสื่อมช้าลง

จากการดูผล X-ray ที่ช่องว่างของข้อ และผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่ใช้กลูโคซามีน ซัลเฟต ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้ยาหลอก Prof. Reginster ยังให้ความคิดเห็นอีกว่า ผลการศึกษานี้เป็นการใช้กลูโคซามีน ซัลเฟต ที่เป็นยา  ไม่สามารถนำผลการรักษานี้ไปอ้างอิงกลูโคซามีนตัวอื่นได้

แต่ข้อมูลที่ชี้ชัดสุด คือ ผลการวิจัยจาก The Joint Area Prescribing Committee (JAPC) ระบุว่า สารกลูโคซามีน ซัลเฟต ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการรักษาเข่า เป็นสารชนิดเดียวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท Rotta ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต และเป็นยาเพียงตัวเดียวที่มีผลการศึกษายืนยันประสิทธิภาพการรักษาทั้งด้านการบรรเทาอาการและชะลอความเสื่อมของข้อเข่า จึงมีความปลอดภัยในระยะยาว แม้จะมีราคาแพงกว่าก็ตาม

ในเมื่อมีข้อมูลสนับสนุนในผลการรักษาที่เชื่อถือได้ของกลูโคซามีน จากข้อมูลล่าสุดนี้ทำให้สงสัยไม่น้อยว่า ที่รัฐตัดกลูโคซามีนออกจากบัญชีรายชื่อยา เพราะไม่ได้ผลตามที่กล่าวอ้างหรือมีเหตุผลอื่นกันแน่
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เผยตัวเลขการเบิกจ่ายยาของข้าราชการไทยพุ่งไปที่ 7 หมื่นล้าน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  สาเหตุที่ค่าใช้จ่ายในระบบสวัสดิการข้าราชการสูงขึ้น เพราะจ่ายตามที่เบิกจริงและไม่มีมาตรการควบคุม ยาหลายชนิดเป็นยานอกบัญชีกลางซึ่งมีราคาแพง หากไม่มีการควบคุมคาดว่าปีงบประมาณ 2553  การเบิกจ่ายน่าจะพุ่งไปหลักแสนล้าน !

แท้ที่จริงแล้ว เหตุผลที่รัฐตัดรายชื่อกลูโคซามีนออกไปเพียงเพราะต้องการควบคุมงบประมาณเพียงอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการรักษาใช่หรือไม่

ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมลุ้นไม่ได้ วันนี้คุณทำการบ้านเรื่องยาโรคข้อเสื่อมแล้วหรือยัง ?


ข่าวโดย : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
Mar 9th, 2011